เขียนใน . โพสใน Article.

"ธรรมศาสตร์เมืองต้นไม้ใหญ่"

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระดมรุกขกรจิตอาสาตัดแต่งต้นไม้ สร้างโมเดล ‘ธรรมศาสตร์เมืองต้นไม้ใหญ่’

 34

เมื่อวันที่ (23 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับบิ๊กทรีส์โปรเจ็คท์และเครือข่ายต้นไม้ในเมือง ระดมรุกขกรจิตอาสากว่า 70 คน ตัดแต่งต้นไม้ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยหวังให้เป็นโมเดล ‘เมืองต้นไม้ใหญ่’

กิจกรรมนี้มีที่มาจากการที่อาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต ได้เห็นการตัดต้นไม้แบบผิดๆ ของหลายๆ เขตของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตัดกุดหัวและการตัดกลางต้น จึงได้ชักชวนบิ๊กทรีส์โปรเจ็คท์ และเครือข่ายต้นไม้ในเมืองว่าเมื่อมีการคลี่คลายการล็อคดาวน์แล้ว ควรจะต้องมีการระดมรุกขกรจิตอาสา มาช่วยกันลงมือตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ให้เป็นตัวอย่าง ซึ่งได้เลือกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ให้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการเพราะมีการดำเนินการมาพอสมควรแล้ว โดยตั้งเป้าจะทำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ให้เป็นตัวอย่างของ ‘เมืองต้นไม้ใหญ่’ จึงเป็นที่มาของรุกขกรจิตอาสากว่า 70 คนที่มารวมตัวกัน ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม ‘หลักสูตรรุกขกรรมขั้นต้น’ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีจัดฝึกอบรมไปแล้ว 10 รุ่น

20200523104713 IMG 0504 

อรยา สูตะบุตร แห่งบิ๊กทรีส์โปรเจ็คท์ กล่าวว่า “ทุกคนที่มาในวันนี้มาด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นการกลับมาช่วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้จัดอบรมการตัดแต่งต้นไม้ให้ แต่ยังเป็นเพราะ ช่วงที่ผ่านมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ซึ่งช่วยผู้คนได้มากมาย ทุกคนจึงอยากทำอะไรให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บ้าง” โดยอรยากล่าวว่าคนมามากเกินคาด จากที่คาดไว้แค่ 30 คน เพราะเป็นช่วงโควิด แต่ปรากฏว่ามีคนมามากกว่า 70 คน

 32

ทางด้านอาจารย์ปริญญา กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของกิจกรรมในวันนี้คือการกลับมารวมตัวของรุกขกรที่ผ่านการฝึกอบรม เพื่อลงมือทำ ทำให้เห็นว่าต้นไม้ใหญ่สามารถอยู่ได้ในเมือง คนจำนวนมากไม่ทราบว่ามนุษย์นั้นขาดต้นไม้ไม่ได้ เพราะต้นไม้เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราหายใจออกมาให้กลับเป็นออกซิเจนให้เราหายใจเข้าไปใหม่ “ถ้าไม่มีต้นไม้ ออกซิเจนจะถูกหายใจหมดในเวลาไม่นาน และคาร์บอนไดออกไซด์ที่สัตว์ทั้งหลายหายใจออกมาจะท่วมบรรยากาศโลก ดังนั้น เราขาดต้นไม้ไม่ได้ ถ้าไม่มีต้นไม้เราจะตายกันหมดในเวลาไม่เกินหนึ่งเดือน” 

นอกจากนี้ต้นไม้ยังดูดซับพีเอ็ม 2.5 และมลภาวะต่างๆ และเป็นความร่มรื่นให้กับเมือง กรุงเทพมหานครและเมืองต่างๆ จะร้อนน้อยลงเมื่อมีต้นไม้ใหญ่เพิ่มขึ้น เมืองจึงขาดต้นไม้ไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงการปลูกเพิ่มอย่างเดียว แต่คือการดูแลต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่แล้วด้วย

อาจารย์ปริญญากล่าวว่า รู้สึกซาบซึ้งใจที่ทุกคนอยากจะมาช่วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ธรรมศาสตร์จะได้ประโยชน์เท่านั้น “เพราะถ้าธรรมศาสตร์ทำสำเร็จได้ แปลว่ามันไม่ยาก และดังนั้นทุกที่ก็สามารถทำได้ ดังเช่น โรงพยาบาลสนาม เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นมา ก็เป็นตัวอย่างให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ หรือตู้ปันสุขก็เช่นกัน เมื่อมีคนกลุ่มแรกทำขึ้นมา แล้วคนเห็นว่าดี ก็เกิดตู้ปันสุขขึ้นมาทั้งประเทศ สิ่งที่เราทำในวันนี้จะเป็นตัวอย่างให้คนเห็นว่า ต้นไม้สามารถอยู่ได้ในเมือง ต้นไม้สามารถอยู่ได้กับถนน ต้นไม้สามารถอยู่ได้กับผู้คน โดยทำที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ดู”

-35
-30
-20
-23
-19
-16
-11
-10
-09
-01