• About BIG Trees

    เพราะ บิ๊กทรี ไม่ใช่เรื่องของต้นไม้ใหญ่ แต่เป็นเรื่องใหญ่ของต้นไม้ 

    กลุ่มบิ๊กทรีส์ เกิดจากการรวมตัวกันของคนที่มีอาชีพแตกต่างกัน แต่มีอุดมการณ์ร่วมกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า เรานำทักษะที่หลากหลายสร้างเครือข่ายคนอาสาและผู้สนับสนุน ระหว่างชุมชน ภาครัฐ เอกชน และผู้สร้างการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อร่วมกันสร้างความตระหนัก ปลูกความเข้าใจให้ผู้คน เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนให้กับเมืองและพื้นที่อื่นๆ

    เมื่อพื้นที่สีเขียวในฝันไม่ใช่แค่การปลูกหรือรดน้ำพรวนดินสม่ำเสมอเท่านั้น เพราะสิ่งที่ต้นไม้ในเมืองต้องการคือการดูแลอย่างถูกต้องบนพื้นฐานของความเข้าใจ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราทุกคนต้องเป็นผู้เป็นพิทักษ์เหล่าต้นไม้ใหญ่ให้เติบโตไปพร้อมกับเมือง บิ๊กทรีไม่ได้ปลูกต้นไม้ แต่กำลังปลูกความเข้าใจให้ผู้คน เพื่อการมีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนให้กับเมืองของเรา

    ถึงเวลาที่เราอยากชวนทุกคนยื่นมือมาโอบกอดต้นไม้ และมีส่วนร่วมกับโปรเจกต์รณรงค์ต่างๆ ของเราตามความถนัดและความสนใจ เพื่อดูแล 60 สวนสาธารณะในเมืองไทย ปลุกปั้นโรงเรียนต้นไม้เพื่อสร้างนักดูแลต้นไม้ใหญ่ ปกป้องปอดของกรุงเทพฯ ผ่านโครงการรักบางกะเจ้า ผูกเสี่ยวอุดหนุนเกษตรอินทรีย์ในโครงการเพื่อนชาวนา ตลาด 100 กิโล และโครงการใหม่ๆ ที่พร้อมจะแตกใบต่อยอดในอนาคต

    ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนเป็นบิ๊กรีส์ได้เพื่อ “ดุแลคุ้มครองต้นไม้ใหญ่”

    The group comprises fairly young professionals and not necessarily only misty eyed tree-huggers. Many are designers, architects and lawyers. Almost all are Thais. On weekends, they get together and go on a cycle tour of areas in the city, visiting landmark old trees in parks, Buddhist temples, universities and sprawling diplomatic compounds as well as to answer calls by residents alerting them to attempts to cut down trees.

    The Big Trees Project is an environmental volunteer and advocacy group that works with communities, government agencies as well the private sector and other civic groups to promote awareness and activities that help preserve public green spaces in Bangkok and beyond. We communicate with the public through social media, as well as organized participatory conservation programs so that volunteers and local communities can join hands to protect public green spaces through sustainable management practices. Our main focus and symbol is large trees whose survival depend on the quality of the green spaces where they are found and how active the surrounding communities are. We also work closely with government agencies and local municipalities to ensure that they engage the public in their conservation efforts. Our many activities are open to all such as the project to develop 60 public parks in Thailand , development of urban tree care as a profession, Love Bangkachao project, organic farming and educational programs for school children such as tree climbing and green school outings.

  • Big Trees กลุ่มอนุรักษ์ “ต้นไม้ใหญ่” ในเมือง


    เรื่อง : ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ

    สถานีต่อไป พร้อมพงษ์...

    หลังจากก้าวออกจากประตูรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่กี่วินาทีที่ก้าวพ้นจากบันไดขั้นแรก บริเวณปากซอยสุขุมวิท 35 ก็ปรากฏภาพปฏิบัติการของรถขุดดิน รถบรรทุกขนาดใหญ่ และเครื่องไม้เครื่องมือจำนวนมาก ที่กำลังทำเวลากับการก่อสร้างขนาดยักษ์บนพื้นดินอันเตียนโล่งอยู่เบื้องหน้าอย่างชัดแจ้ง

    หากคนที่เคยผ่านมายังพื้นที่แห่งนี้ ลองนึกจินตนาการเปรียบเทียบกลับไปยังวัน-เวลาเดียวกันนี้ของปีที่แล้ว  ภาพที่เคยมองเข้าไปแล้วพบกับความร่มรื่นจากต้นไม้น้อย-ใหญ่จำนวนมาก และมี “ต้นจามจุรียักษ์อายุกว่าร้อยปี” ภาพนั้นได้หายไปอย่างสิ้นเชิง โดยกำลังแปรเปลี่ยนเป็นบางสิ่งบางอย่างตามความต้องการของมนุษย์

    ความสูญเสียครั้งใหญ่ครั้งนั้น ได้เป็นจุดกำเนิดของกลุ่มคนเล็กๆ ที่เห็นร่วมกันในการลุกขึ้นมาอนุรักษ์ “ต้นไม้ใหญ่” ในเมือง ภายใต้กลุ่มชื่อ “Big Trees”

    พงศ์พรหม ยามะรัต หรือ โจ หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม “Big Trees” ตอบรับการพูดคุยกับโลกสีเขียวด้วยน้ำเสียงสบายๆ เรานัดพบกันที่ออฟฟิศของเขา ซึ่งตั้งอยู่ภายในซอยสุขุมวิท 35 ห่างจากปากซอยไม่ไกลนัก  เขาเปิดการสนทนาโดยเล่าถึงเหตุการณ์ที่พวกเขาพยายามยื้อชีวิตต้นไม้จำนวนหลายร้อยต้น ซึ่งปลายทางของความพยายามได้พบกับการสูญเสีย “สิ่งมีชีวิตสีเขียว” ที่ยากจะประเมินเป็นมูลค่า  หากแต่ความเสียใจต่อการจากไป และผิดหวังต่อทัศนคติของเจ้าของโครงการ ก็ได้สร้างความรู้สึกหนึ่งในแก่เขาและเพื่อนๆ

    “เรารู้สึกว่า เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง” โจพูดถึงความตั้งใจของตัวเอง ซึ่งมันคือความตั้งใจของคนทั้งกลุ่มด้วย

    หลังจากวันแรกที่เขาและเพื่อนๆ รวมตัวกันเงียบๆ - การเกิดขึ้นของกลุ่ม “Big Trees” - จนกระทั่งเรื่องราวว่าด้วย “ต้นไม้ใหญ่” ได้กลายเป็นกระแสอยู่ในสังคมไทยอยู่พักใหญ่ๆ ก่อนที่กระแสนั้นจะผ่อนตัวลง แต่รักษาระยะเติบโตอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน  อะไรสักอย่างของพวกเขาออกเดินทางมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆ จนสามารถปลุกความตื่นตัวทางสิ่งแวดล้อมของคนในสังคมขึ้นมาได้อย่างกว้างขวาง  หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวในเชิงนโยบาย ซึ่งมี “พระราชบัญญัติคุ้มครองต้นไม้ใหญ่ในเมือง” เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญ

    โจบอกว่า ณ วันนี้ เราต้องยุติทัศนคติที่คนในสังคมถูกปลูกฝังให้ “เชื่อ” ว่าการพัฒนาต้องแลกมาด้วยการสูญเสียสิ่งแวดล้อมที่ดี และมาออกแบบความเป็นอยู่ที่มีทั้ง “คุณภาพชีวิต” “คุณภาพเมือง” ควบคู่ไปกับ “คุณภาพสิ่งแวดล้อม” เพราะข้อเท็จจริงจำนวนมากบอกชัดเจนว่าเหล่านั้นเป็นเรื่องเดียวกัน

    จากวันแรกที่เริ่มเป็นกระแสในสังคม กระทั่งสะเทือนใจไปยังวงกว้างเมื่อวันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม 2553 ที่ “ต้นจามจุรียักษ์” ถูกโค่นลงไป วันนี้ กลุ่มอนุรักษ์ “ต้นไม้ใหญ่” ที่ชื่อว่า “Big Trees” ได้ออกเดินทางมาได้ระยะเวลาหนึ่ง และหนทางสีเขียวก็ดูจะเป็นการก้าวเดินที่มี “ความหวัง” รอคอยอยู่

    คุณว่าอย่างนั้นไหม ?

    กลุ่ม Big Trees เริ่มต้นมาได้อย่างไร

    มันเริ่มต้นประมาณช่วงพฤษภาคม 2553 เราได้ข่าวมาว่าพื้นที่ปากซอยสุขุมวิท 35 มีการก่อสร้าง และจะตัดต้นไม้ภายในออกไป ตอนนั้นก็เริ่มต้นแก้ปัญหาด้วยการพูดคุย ส่งข่าวสอบถามเข้าไป เราไม่ได้บอกว่าไม่ให้ตัดเลยนะ เพราะเข้าใจว่าการสร้างตึกสูงมันต้องตัด แต่มันมีทางที่จะเก็บหรือล้อมเอาต้นออกไปได้ยังไง คำตอบทีแรกก็คือ “ไม่ปรับ” เราก็ถอยออกมาก้าวหนึ่ง แล้วตัดสินใจถ่ายรูปและส่งอีเมลให้กับกลุ่มเพื่อนๆ กัน ใช้หัวข้อว่า “ไม่อยากให้ ‘ต้นไม้ใหญ่’ จากไป” ยังไม่ได้ใช้คำว่าบิ๊กทรี

    ผมได้คุยโทรศัพท์กับผู้อำนวยการบริษัท 1-2 ครั้ง มีนั่งโต๊ะคุยกัน 2-3 ครั้ง บอกเขาว่าเราระดมทุนได้ล้านกว่าบาทเพื่อที่จะล้อมต้นไม้ เป็นการคุยกันปากเปล่าว่าใครช่วยได้บ้าง ตอนนั้นมีชื่อบริษัทล้อมต้นไม้พร้อมลงมือได้เลย  สักวันพุธก่อนจะมีการตัด เจ้าของโครงการก็ส่งตัวแทนบอกว่าสนใจ แต่หลังจากนั้น วันจันทร์ก็มีการตัดครั้งแรก  มันน่าตกใจมากที่การพูดคุยว่าสนใจเรื่องล้อมต้นไม้ แต่ทำไมยังมีการตัด มันทำให้เราตัดสินใจเปิดเฟซบุ๊กขึ้นมา ตอนนั้นก็ตั้งใจแค่ว่าอยากจะสื่อสารกันภายในกลุ่ม ตั้งชื่อง่ายๆ เป็นภาษาอังกฤษ “Big Trees” เพราะคิดว่ามัวแต่ใช้อีเมลคุยกันคงไม่ทัน  ตอนนั้น เราก็โพสต์วีดีโอลงไปด้วย ที่เราทำไปก็ไม่ได้ต้องการจะประจานด้วย แต่ตั้งใจที่จะอัพเดทสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้เพื่อนๆ ได้รู้  พอเปิดตัวขึ้น มันก็กระจายต่อๆ กันไป แป๊บเดียวมันก็เพิ่มขึ้นเป็นพันคนเลย  คนที่รู้ข่าวก็ไม่พอใจกัน เพราะเหมือนตอนแรกจะคุยเข้าใจตรงกันแล้ว

    หลังจากนั้นกี่วัน ถึงต้นไม้หายไปหมด

    (นิ่งคิด) 5 วันเองมั้ง  จำง่ายมาก เขาเริ่มตัดครั้งแรกคือวันจันทร์ พื้นที่ตอนนั้นตรงกลางจะมีต้นไม้เยอะสุด ซ้าย-ขวาจะน้อยลงมา เขาใช้เวลาหนึ่งวันเต็มๆ ในการตัดซีกซ้ายออกไป  เราก็เริ่มโวยไปทางเขต ผู้อำนวยการเขตก็มาในวันพุธ ก็คุยกันว่าจะไม่ตัดแล้ว  เราก็เสนอว่าขอให้มีตัวกลาง โดยเรื่องไม่กระจายออกไป เรายังเคารพเจ้าของที่ และต้นไม้ไหนล้อมได้ ก็ขอล้อม แล้วขอให้ทางเขตเป็นตัวกลางในการประสาน แต่ถ้าต้นไหนล้อมก็ตาย หรือลำบากในการทำจริงๆ เราก็ไม่ได้ดื้อที่จะทำ  ตอนนั้น มันน่าจะจบลงด้วยดี แต่พอวันเสาร์ เขามารอบเดียว ต้นไม้ไปหมดเลย  มันเป็นการตั้งใจแน่นอน ทั้งที่ต้นไม้ซีกซ้ายซึ่งมีปริมาณเท่ากับฝั่งขวา แต่น้อยกว่าตรงกลางมาก ยังใช้เวลา 1 วัน แต่ปริมาณมากขนาดนั้นไม่ถึง 6 ชั่วโมงก็หมดไปทันที  ตอนนั้นเราถึงโกรธทัศนคติของเจ้าของโครงการใน 2 เรื่อง เขาจะมาเจรจาในวันพุธก่อนทำไม และทำไมต้องทำกันถึงขนาดนั้น มันเป็นเรื่องของจิตสำนึกคนเลย

    ถ้าในอนาคตเจ้าของตึกแห่งนี้มาทำโครงการ CSR เพื่อสิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน ผมก็ไม่มีทางที่จะเชื่อแล้ว จะปลูกต้นไม้ทดแทน มันก็เป็นเพียงน้ำจิ้มแค่นั้น  สิ่งที่คุณกำลังทำมันไม่ได้เกิดจากความเข้าใจในเพื่อนรอบข้าง คุณต้องออกมาคุยกับคนรอบๆ ว่าคำว่า “พื้นที่สีเขียว”คำว่าฟอกอากาศในเมืองมันเป็นยังไง  ถ้าได้คุยกัน แล้วสุดท้ายจะไม่สามารถล้อมได้มาก ผมว่ามันก็คงเข้าใจได้อยู่

    สำหรับคุณ “ต้นไม้ใหญ่” มีคุณค่าอย่างไร

    ผมมองว่ามูลค่าของเมืองจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่ต้องการอยู่กับคุณภาพชีวิตที่ดี มันคือฐานของชีวิตที่ดี ทั้งอากาศ หรืออาหาร มันคือสิ่งสำคัญที่สุดแล้ว เพราะจะรวยจะจน มันเริ่มเลือกไม่ได้ไง พวกยารักษาโรคจะเลยไปอีกขั้นนะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะฐานไม่ดี ฐานมันต้องดีก่อน มันจะส่งผลให้สิ่งอื่นดีตามไป

    ผมว่าเราต้องคืนสู่สามัญในสิ่งที่เราลืมไปสัก 30 ปีได้แล้ว  ยกตัวอย่างในสิงค์โปร์ เขาก็พยายามจะสร้างความเข้าใจใหม่ให้กับประชาชน จากที่เมื่อก่อนเคยจะทำประเทศให้เป็นอุทยาน ตอนนี้ก็เปลี่ยนใหม่เป็นเมืองในอุทยาน  จากที่เป็นแค่เกาะแห้งๆ ก็พยายามโปรโมตเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพ นำเข้าสิ่งต่างๆ เข้ามา แล้วเขาเข้าใจเร็ว พอเข้าใจ มันก็ค่อยๆ ดีขึ้น จนตอนนี้สิงค์โปร์มีต้นไม้ใหญ่อยู่ประมาณ 50% ของเกาะ อุณหภูมิของสิงค์โปร์เมื่อสัก 30 ปีที่แล้วร้อนกว่ากรุงเทพฯ ด้วยซ้ำ แต่ปัจจุบัน กรุงเทพฯ ร้อนกว่าสิงค์โปร์แล้ว ทั้งๆ ที่สิงค์โปร์อยู่ใกล้ศูนย์สูตรมากกว่า

    อย่างที่เซี่ยงไฮ้ ยุคก่อนปี 2000 ที่เขาดึงทุนนิยมเข้ามา ก็เกิดการพัฒนาเมืองใหญ่โต ตัดต้นไม้ออกไป พอมาช่วงปลายศตวรรษที่ 20เขาก็มาพบว่ามลภาวะในเมืองเขาพุ่งขึ้นเร็วมาก อุณหภูมิในเมืองก็อุ่นขึ้น เขาก็มองว่าปล่อยให้เป็นแบบนี้ไม่ได้ ถ้าพัฒนาไปแล้วเมืองมันตาย การพัฒนาก็จะไม่รอด คนก็ไม่อยากอยู่เมืองนี้ ประมาณปี 1999-2000 ก็เริ่มโปรเจ็คต์ Shanghai greenbelt ขึ้นมามีเป้าว่าทำยังไงอุณหภูมิและมลภาวะถึงจะลดลง  ปัจจุบันเซียงไฮ้มีรถยนต์มากกว่าในอดีตมากนะ คนก็ย้ายเข้ามามาก มีอุตสาหกรรมเข้ามามหาศาล แต่โจทย์กลับต้องทำให้มลภาวะลดลงด้วย อันนี้คือเป้าเขา  หลังจากนั้นภายใน 10 ปี ช่วงแรก เขาก็วางไว้เลยว่าจะเอาต้นไม้ไปปลูกอนุบาลไว้ตรงไหน เพื่อทยอยดึงเข้าเมืองมาเรื่อยๆ ต่อมาก็วางจุดปลูกแบบป่าล้อมเมือง ตรงไหนขึ้นได้ก่อน ไม่ต้องไปเวนคืน ก็เอาเข้ามาก่อน  พอถึงพื้นที่ที่ถูกเวนคืน ก็จะเกิดการคุยกับหน่วยราชการ ทำให้หน่วยงานราชการที่มีพื้นที่ว่างแล้วไม่ได้ใช้ ก็จะขึ้นต้นไม้เลย ต้นไม้ก็จะถูกอัดเข้ามาอยู่ในเมือง ทำให้จากมีต้นไม้ไม่ถึง 20% ปัจจุบันเขามีต้นไม้ราว 38% ในเวลาแค่ 10 ปี มีการวัดมลภาวะ ก็พบว่าลดลงเรื่อยๆ ด้วย

    กลับมาที่กรุงเทพฯ ในเมืองเรามีต้นไม้อยู่ราว 10% ต้นๆ น้อยกว่าเซี่ยงไฮ้ 3 เท่า น้อยกว่าสิงค์โปร์ 4 เท่ากว่า  คนในเมืองไทยต้องเข้าใจก่อนว่า คนเราไม่ว่าจะรวยหรือจนก็หายใจอากาศเดียวกัน เราต้องกลับมาถามว่า เมืองที่ทำลายสิ่งแวดล้อมแล้วจะเจริญได้ มีเมืองไหนบ้าง ลองยกตัวอย่างมาสักเมือง  อย่างที่ดีทรอยต์ เขาทำลายสิ่งแวดล้อม ทำโรงงานอุตสาหกรรม ตอนนี้ก็เป็นเมืองล้มละลาย คนในดีทรอยต์ 60% ต้องย้ายออก แต่กลับกันทั้งลอนดอน โตเกียว เซี่ยงไฮ้ เมืองเหล่านี้เจริญกว่าและธุรกิจพัฒนากว่าเมืองไทย แต่เขาจะพัฒนาสิ่งแวดล้อมไปด้วย  ผมว่าตรงนี้คือเรื่องที่ต้องปรับทัศนคติของคนไทยให้เร็ว ไม่ว่าจะภาครัฐ หรือเอกชน ว่าความคิดที่ว่าการพัฒนาต้องแลกมากับสิ่งแวดล้อมมันหมดยุคไปตั้งแต่ปี 2000 แต่เราเป็นเหมือนชาติที่ยังอยู่ในช่วงก่อนปี 2000 เราต้องกลับมาทบทวนว่า การตัดต้นไม้จำนวนมากเพื่อสร้างตึกๆ เดียวมันถูกแล้วเหรอ

    กิจกรรมที่ผ่านมาของ “Big Trees”  มีอะไรบ้าง

    ก็มีทั้งไปเช่าเรือพาคนที่สนใจไปดูต้นไม้ที่ฝั่งธนบุรี จัดกิจกรรมขี่จักรยานดูต้นไม้รอบเกาะรัตนโกสินทร์ หรือกิจกรรมที่จัดที่อารีย์การ์เด้น (ต้นไม้ที่รักษ์ @ อารีย์การ์เด้น) ไปชวนคนมาขี่ดูต้นไม้แถวๆ นั้น ช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่สร้างความตื่นตัวให้คน

    ส่วนการประกวดต้นไม้ใหญ่ ทางกลุ่มจะเป็นคนริเริ่ม แล้ว กทม. จะเข้ามาช่วย ก็นับว่าเป็นกิจกรรมใหญ่ของเรา ซึ่งเป้าหมายใหญ่คือ การตื่นตัวในเรื่องธรรมชาติเลย  มีคนติงเข้ามานะว่าทำไมกิจกรรมหน่อมแน้มจัง เราตอบไปว่า ช่วงแรกกิจกรรมคือการสร้างความตื่นตัวให้คนในสังคม แล้วตอนนี้ ผมว่าคนในเฟซบุ๊กส่วนใหญ่ก็เข้าใจแล้ว การตอบรับของคนในเฟซบุ๊กก็ไม่ลดลง ดูจากกราฟสถิติก็รู้สึกดีใจนะ ทั้งที่กิจกรรมเราไม่ได้เยอะเหมือนแต่ก่อน แต่คนก็ยังให้ความสนใจได้

    ณ ตอนนี้ เรากำลังอยู่ในช่วงปรับการทำงานของทีม เราทำอะไรที่เป็นกิจกรรมน้อยลง แต่มานำเสนอเนื้อหามากขึ้น  หลังจากเราโปรโมทกิจกรรมมา ได้ความตื่นตัวมาประมาณหนึ่ง ในเฟซบุ๊กตอนนี้เราก็พยายามใส่ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้คนยังคงความตื่นตัวนั้นไว้ได้  เราเองไม่ได้มีแรงพอที่จะผลัก 2 เรื่องไปพร้อมกัน ทั้งกิจกรรม ทั้งนโยบาย ตอนนี้เราก็เลยเลือกที่จะไปผลักดันนโยบายของเมืองแทน ซึ่งเราตั้งชื่อเล่นๆ ว่า Bangkok greenbelt ก็เอาชื่อมาจากต่างประเทศ  สิ่งที่เรานำเสนอในวันนี้ก็คือ เรากำลังร่างแผนขึ้นมา เป็นแผนซึ่งทำกรุงเทพฯ เป็นเมืองหนึ่งซึ่งกำหนดว่าจะต้องมี “พื้นที่สีเขียว” ที่เกิดจากต้นไม้ใหญ่กี่เปอร์เซ็นต์ที่หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด 10 กว่าล้านคน  ตอนนี้เรามีสถิติว่ากรุงเทพฯ มีต้นไม้อยู่ 3 ตารางเมตรต่อประชากรหนึ่งคน ขณะที่โตเกียวมี 13 ตารางเมตรต่อประชากรหนึ่งคน ลอนดอนมี 38 ตารางเมตรต่อประชากรหนึ่งคน นิวยอร์กมี 39 ตารางเมตรต่อประชากรหนึ่งคน แต่ก็มีคำถามอีกว่า 3 ตารางเมตรของเรานั้นถูกต้องหรือเปล่า  ข้อเสนอที่เราจะเสนอ กทม. ก่อนเลยก็คือ เราจะเชื่อ 3 ตารางเมตรนั้นไหม ถ้ามีงบประมาณ ช่วยสำรวจอีกครั้งหนึ่งหน่อยว่าในเมืองมีเท่าไร เพื่อมาใช้เป็นตัวชี้วัดในวันเริ่มต้น หลังจากนั้นเราจะเริ่มกำหนด KPI เป็นเขต โดยดูว่าแต่ละเขตมีต้นไม้กี่เปอร์เซ็นต์ และตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปี 5 ปี จะมีต้นไม้เพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ มลภาวะต้องลดลง และอุณหภูมิโดยเฉลี่ยก็ต้องลดลงด้วย โดยผมตั้งใจว่าจะไม่มีการประนีประนอม จะไม่มีการบอกว่าเขตผมต้องเจริญเติบโต จึงต้องมีโรงงานอุตสาหกรรม อย่างในเมืองนอกเขาก็ไม่ประนีประนอมกัน

    เห็นอะไรบ้างจากการทำกิจกรรมทั้งสองแบบ

    ความสนใจจากคนในเฟซบุ๊กจะดีกว่า เพราะพวกเขาเป็นคนที่สนใจอยู่แล้ว แต่พอมาเป็นชาวบ้าน มันก็จะยากกว่า แต่ผมคิดว่าถ้าเกิดมันได้ขึ้นมา มันก็เหมือนกับขายตรงเลย มันได้พื้นที่เพิ่มขึ้น เพราะเราเอาความจริงไปบอกเขา แต่งานส่วนนี้เราเองก็ยังมีจุดอ่อนอยู่ เพราะเราไม่ได้มีเวลา ไม่มีอำนาจในมือ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ๆ จะสามารถไปคุยกับประธานชุมชนได้ เครือข่ายลักษณะนี้เราก็มีไม่มาก  แต่ถ้าภาครัฐเองมีกำลังคนมาช่วยบ้าง มีการประสานงานให้เราบ้าง จะง่ายขึ้นเยอะเลยนะ เราเองจะอยากไปคุยกับคนพวกนี้มากกว่า

    ตอนนี้ชาวบ้านหลายคนยังไม่รู้ ซึ่งไม่ผิด วันนี้ต้องทำให้เขารู้เท่านั้นเอง เช่น วันนี้เขารู้ไหมว่า บ้านที่มีโครงสร้างแบบเดียวกัน มีต้นไม้กับไม่มีต้นไม้ ค่าไฟแอร์ต่างกันครึ่งหนึ่งเลยนะ ผมว่าบางคนก็ไม่รู้นะ

    ซึ่งมันเป็นตรรกะง่ายๆ

    ใช่ แต่ทุกคนมองข้ามไป คนส่วนใหญ่ยังคิดแค่ว่า อยู่ในเมืองเดียวกัน ก็แค่เลือกแอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ประหยัดไฟ เขาคิดอยู่เรื่องเดียว เรื่องต้นไม้เขาไม่ได้คิดแล้ว เพราะฐานการเปรียบเทียบมันนานไง  ในอดีตที่เราเคยมีต้นไม้เยอะ ช่วงนั้นแอร์ก็จะคุณภาพไม่ดี พอตอนนี้เรามีแอร์คุณภาพดีมาช่วย เราก็ไปเอาต้นไม้ออกแล้ว ถ้าเอาใหม่เป็นใช้แอร์เบอร์ 5 และมีต้นไม้ด้วย ผมว่าค่าไฟลดลงมาก หรือเผลอๆ ไม่ต้องเปิดแอร์เลย

    แนวคิดของกลุ่มที่ว่าต้องการให้มี “พระราชบัญญัติคุ้มครองต้นไม้ใหญ่ในเมือง”คุณคิดว่ากฎหมายเป็นสิ่งจำเป็น ?

    ต้องมีเลย (ตอบทันที) มันเป็นกฎหมายที่มีอยู่ในเยอรมัน สิงค์โปร์ เกาหลี ไต้หวัน และอีกหลายประเทศ  มันคือสิ่งที่อยู่ในแผน Bangkok greenbelt แต่ในนั้นจะเป็นการเขียนแค่ว่ากฎหมาย แต่ในรายละเอียดเราจะไม่ได้ใส่ไป  ถ้าในตัวกฎหมาย เราก็ได้ไปปรึกษานักกฎหมายหลายๆ ท่านมาด้วย ซึ่งเราอยากให้รัฐเป็นตัวกลางในการร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา

    เนื้อหาของกฎหมายก็ง่ายๆ คุ้มครองต้นไม้และคนเก็บต้นไม้ไว้ มัน win-win คือต้นไม้อยู่ได้ คนเก็บต้นไม้ก็ต้องอยู่ได้ด้วย กฎหมายนี้มันก็โยงไปถึงเรื่องทำผังเมือง ที่ในแผนที่เป็นสีต่างๆ  อย่างสิงค์โปร์ก็บอกชัดว่า แม้พื้นที่จะจำกัด แต่ต้องมีต้นไม้ 50%  ถ้าพูดในมุมนี้คนก็จะคิดว่าประเทศเขาจะโตไม่ได้แล้ว สิงค์โปร์กำหนดเลยว่า ความหนาแน่นประชากรในพื้นที่ต้องไปกับคุณภาพอากาศและปริมาณต้นไม้เท่าไร เขาก็เลยสร้างเป็นตึกสูง ทำให้มีพื้นที่แนวราบมากขึ้น ก็ลงต้นไม้ไป แค่นี้ก็ตอบโจทย์แล้ว คุณภาพอากาศดี อุณหภูมิต้องต่ำ  ประเทศสิงค์โปร์ก็จะมีบทลงโทษรุนแรง เช่น ตัดต้นไม้หนึ่งต้น ถ้าจำไม่ผิดจะถูกปรับหมื่นกว่าเหรียญ แล้วขึ้นศาล และที่หนักกว่านั้นก็คือ หยุดการก่อสร้างเลยนะ

    ส่วนผู้พัฒนาอหังสาริมทรัพย์ที่เก็บต้นไม้ไว้ เขาจะมีหน่วยวัดเลยว่าต้นไม้ขนาดนี้ คายออกซิเจนได้เท่าไร นั่นเป็นส่วนหนึ่งในการอนุญาตให้ตึกที่จะสร้างสูงขึ้นได้อีก มันคือการปกป้องทั้งสองข้าง เราถึงพยายามออกตัวมาตลอดว่า เราคือคนที่อยากพัฒนาเมืองโดยมีสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นตัวตั้ง

    รายละเอียดของกฎหมายที่อยากให้รัฐเข้ามาเป็นตัวกลาง จะเหมือนๆ กับต่างประเทศเลยหรือเปล่า

    แทบจะเหมือนกันเลย ซึ่งผมคิดว่ามันคงจะผ่านยาก แต่เราจะไม่ประนีประนอมแล้ว  ผมอยากให้มันมีบทลงโทษออกมาเป็นหน่วยเลยว่าต้นไม้ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ผลของมันคืออะไร พอวัดผลออกมาได้ก็สร้างเป็นบทลงโทษชัดเจน พอเรามีความชัดเจนแล้ว ก็จะไม่เกิดปัญหาเรื่องสองมาตรฐาน และเมื่อเรามีกติกาขึ้นมาแล้ว มันจะต้องส่งผลไปยังประชาชนส่วนใหญ่ก่อนนายทุน เราไม่ขัดผลประโยชน์นายทุน แต่ก็ไม่ทำให้นายทุนมาสร้างผลเสียต่อสังคม นายทุนหนึ่งคนจะมีผลมากกว่าคนหนึ่งคนไม่ได้

    หากมองว่าเจ้าของพื้นที่ก็ควรจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ต้นไม้ด้วย แล้วเพราะอะไรเขาถึงตัดไม่ได้

    ถูกเป๊ะ (ตอบกลับทันที หลังจากถามถึงกรรมสิทธิ์ต้นไม้ของเจ้าของพื้นที่) มันเป็นสองเรื่องครับ เรื่องแรกก็เรื่องกฎหมาย เราถึงต้องคุ้มครองสิทธิเขา  แล้วอีกเรื่องก็คือ ผมยกตัวอย่างเวลามีคนบิดมอเตอร์ไซค์ในบ้านเขาที่อยู่ในเมือง เรารำคาญไหม ก็รำคาญ  เมืองคือการอยู่รวมกันของคนจำนวนมาก พอเราอยู่ร่วมกัน เราต้องคิดถึงส่วนรวมมากขึ้น  คนบิดมอเตอร์ไซค์คือการสร้างมลภาวะทางเสียง คนตัดต้นไม้คือการสร้างมลภาวะทางอากาศ

    เวลาเราพูดถึงต้นไม้ เราก็จะพูดว่ารากนั้นอยู่ที่พื้นที่ของใคร แต่ไม่ได้มองว่าใบไม้ที่แผ่ออกมามันเอื้อต่อคนนอกรั้วแล้วไง เราก็มีทางเลือกสองอย่าง ห้ามพัฒนาเมือง ทำให้เมืองมีต้นไม้เต็มเลย กับต้องพัฒนาเมือง แต่เปลี่ยนเอาต้นไม้ไปหยอดในพื้นที่ส่วนบุคคลแทน  เมื่อก่อนพื้นที่มีต้นไม้อยู่เต็มเลย แต่พอมนุษย์มากขึ้น ก็ไม่ใช่ฆ่ามนุษย์ทิ้ง แต่ทำยังไงให้มนุษย์อยู่ในพื้นที่นี้ได้ มันก็เริ่มตีตารางแบ่งพื้นที่ ก็เริ่มกลายเป็นเมืองแล้ว แต่เราดันไปคิดว่าต้นไม้ที่มีอยู่เดิมเป็นต้นไม้ของฉัน มันผิดแล้ว เพราะย้อนกลับไปเป็นล้านๆ ปีต้นไม้ไม่ได้มีเจ้าของ ทรัพยากรสำคัญของต้นไม้ไม่ใช่ราก แต่มันคือออกซิเจนที่ออกมาที่ใบ เราถึงต้องพูดเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ว่าต้นไม้ดูดคาร์บอนไดออกไซด์  เรามองต้นไม้ในมิติของรากไม่ได้ แต่ต้องมองในมิติของพื้นที่แต่ละส่วนที่มีออกซิเจนเข้ามารวมกันเป็นพื้นที่หนึ่ง แต่เรากลับไปมองแบบทุนไง เราไปมองว่ารากอยู่บนพื้นที่ของฉัน ต้นมะม่วงจึงเป็นของฉัน แต่ไม่ได้มองว่ามันเกี่ยวเนื่องกับอากาศ เพราะมันมองไม่เห็นไง  ไม่ว่าที่ไหนๆ ก็เคยมีต้นไม้มาก่อน เราก็เริ่มตัดออกไป สร้างบ้านขึ้นมา ปลูกต้นไม้ใหม่ แล้วบอกว่าต้นไม้นี้เป็นของฉันแล้ว

    คุณกำลังจะบอกว่าต้นไม้ไม่ใช่ของใครสักคน ?

    ไม่ใช่เลย การฟอกอากาศมาเป็นออกซิเจนเกิดจากต้นไม้ นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นเป็นล้านๆ ปี ส่วนโลกสมัยใหม่ก็เกิดขึ้นมาไม่กี่ปี แล้วเราก็ไปบัญญัติว่าต้นไม้คือทรัพยากรของมนุษย์ ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะสุดท้ายทรัพยากรสำคัญที่เป็นฐานให้มนุษย์อยู่ได้คือออกซิเจน คืออากาศที่มีคุณภาพ ซึ่งมันคือสิ่งที่มีมาเป็นล้านๆ ปีแล้ว อยู่ๆ เราก็ไปลืมเรื่องอากาศเพราะเรามองไม่เห็น แต่ไปยึดมั่นที่รากเท่านั้น

    ความเป็นจริงแล้ว พื้นที่ในเมืองก่อนหน้านี้เต็มไปด้วยต้นไม้ แล้วเราถึงสร้างเมืองด้วยการตัดต้นไม้หมดเลย แล้วค่อยมาปลูกต้นไม้ใหม่ในจำนวนที่น้อยกว่าเก่า แล้วเราก็ไปอ้างกรรมสิทธิ์ว่ามันเป็นของเรา เราจะตัดได้ แต่ไม่ได้มองว่าแต่เดิมต้นไม้คือของส่วนรวม

    เราผิดตั้งแต่แรก  ที่เรานึกยากเพราะอากาศมองไม่เห็น ถ้าอากาศมองเห็นนะ สมมติอากาศเป็นสีฟ้า พอมันเริ่มแย่ลงก็อาจกลายเป็นสีส้มแล้ว แต่ความจริงเรามองไม่เห็นไง มันเลยไม่มีสเกล  ต้นไม้มันคือมิติหนึ่งของธรรมชาติรวม คืออากาศ

    แล้วในวันที่เราอยู่กับความเข้าใจเรื่องกรรมสิทธิ์ คุณมองว่าเราตัดต้นไม้ต้นไหนได้บ้าง

    เราถึงต้องมาคุยกันไงว่า แบบไหนคือเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งมันมีเป็นร้อยๆ อย่าง จึงขอตีกรอบแค่คุณภาพอากาศ อุณหภูมิเมือง ซึ่งอุณหภูมิก็เกี่ยวกับค่าไฟ และเรื่องของมลภาวะ เราก็เอาเรื่องเหล่านี้มาตั้งเป็นเกณฑ์ว่าเท่านี้นะคือค่าที่มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ได้ดี อากาศที่ดีก็เกิดได้จากอย่างเดียวคือ คุณต้องมีต้นไม้ในปริมาณที่เหมาะสม เราถึงต้องกลับไปว่า ทำยังไงถึงจะมีต้นไม้ใหญ่อยู่ในเมืองได้

    เท่าที่ได้ทำงานกับภาครัฐ คิดว่าเจ้าหน้าที่มีความสนใจในประเด็นสิ่งแวดล้อมไหม

    ผมมองว่า คนจำนวนมากไม่ได้มีทัศนคติในเรื่องพวกนี้เลย มันเป็นวัฒนธรรมองค์กรของข้าราชการไทย ผมพูดไปข้าราชการอาจจะโกรธ แต่บ้านผมก็ข้าราชการเยอะ (หัวเราะ)  มันเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่เขาต้องมาอยู่ในองค์กรที่ต้องทำตามใบสั่ง ต้องทำตามบุคคลมากกว่าความถูกต้อง เขาอาจจะมาด้วยไฟแรง แต่ระบบเช่นนั้นอยู่กับพวกเขามาเป็นสิบๆ ปี มันจึงเกิดความรู้สึกที่ว่าไม่ยินดียินร้ายกับความทุกข์ของประชาชนมากนัก  แต่สิ่งหนึ่งที่เราพบจากเจ้าหน้าที่ของ กทม.รุ่นใหม่ๆ ซึ่งยังไม่โดนระบบแบบนั้นครอบ เขาก็มาสนับสนุนเรา ซึ่งจริงๆ เขาไม่ทำก็ได้นะ เล่นละครนิดหน่อยให้จบๆ ไปก็ได้ อย่างกิจกรรม Bangkok Bicycle Sunday เขาก็มาช่วยปิดถนนให้หนึ่งเลน เจ้าหน้าที่รุ่นใหม่เริ่มเห็นปัญหา อายุไม่ได้เยอะมาก เป็นมนุษย์ที่อยู่กับข่าวสารปัจจุบัน ไม่ใช่ทำงานแต่ในตึก อยู่กับระบบเดิมๆ แค่นั้น ก็นับว่าเป็นความหวังที่ดี

    คุณว่าเพราะอะไร คนรุ่นก่อน กับรุ่นใหม่ ถึงมีทัศนคติที่ต่างกัน

    (คิดนาน) ผมว่าคนไทยมีความสบายสูง ที่เขาบอกกันว่า ถ้าเรามีน้ำร้อนๆ พอโยนกบลงไป กบก็จะกระโดดออกทันที แต่ถ้าเราใส่กบในน้ำแล้วเปิดไฟไว้ มันก็จะร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมันตาย ซึ่งคนไทยเป็นกบตัวหลังที่อยู่ในน้ำซึ่งร้อนขึ้นเรื่อยๆ  เราอยู่ในสังคมที่สบาย ประเทศเรามีต้นไม้เยอะมาก มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก แต่พอเราสูญเสียไปเรื่อยๆ เราก็คิดว่าเดี๋ยวคงมีใครสักคนมาแก้เอง

    ยุคสัก 50 ปีที่ผ่านมา คือช่วงเวลาที่เราทำลายสิ่งแวดล้อมกันสนุกมือมาก เรารู้สึกว่ามันคงไม่ได้แย่กว่าที่เป็นอยู่ เพราะชีวิตมันสบาย แต่พอมายุคปัจจุบัน เราเริ่มพบแล้วว่าปัญหามันมีจริง ภาวะโลกร้อนมีจริง เราได้อ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ปัญหาโคลนถล่มที่ภาคใต้ เรารับรู้ว่าทำไมมันถึงถล่ม ก็เพราะต้นไม้ที่เห็นเขียวๆ มันเป็นปาล์มหรือยางพาราทั้งนั้น ต้นไม้รากสั้น คนก็ไปบุกรุกป่า  ผมว่าคนในยุคนี้ก็เห็นแล้วว่าพวกเขาเป็นคนที่ได้รับผลกระทบ มันต้องลุกขึ้นมาสู้

    ทุกวันนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สะสมมายาวนานของเมืองไทย มีแนวโน้มว่าคนในสังคมมีแต่ให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ คุณคิดว่าเพราะอะไรกระแสเช่นนี้จึงเกิดขึ้น

    มันเป็นยุคที่คนไทยมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น เขาจึงคิดมากขึ้น สมัยก่อน จากที่เมื่อก่อนมีการบอกว่าการพัฒนาจะต้องแลกด้วยสิ่งแวดล้อม แล้วเราต้องชั่งน้ำหนักว่าจะเลือกอย่างไหน แต่วันนี้ มันมีการคิด การตั้งคำถามมากขึ้น ไม่ได้เชื่อในสิ่งที่พูดๆ กันมา ยิ่งเมื่อมีตัวอย่างในต่างประเทศหลายแห่งให้เห็นว่า เมืองของเขาสามารถเป็นเมืองที่พัฒนาด้วยและใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วย เราก็เริ่มเห็นว่าเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นที่ตั้ง คนในเมืองก็จะมีสุขภาพดีและรวย เราเริ่มเห็นภาพแบบนี้ชัดเจนมากขึ้น  คำถามเหล่านี้จึงถูกโยนจากภาคประชาชนกลับไปยังเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถามว่าเขาเข้าใจไหม เขาเข้าใจนะ แต่ต้องพูดตรงๆ ว่ายังมีจำนวนมากที่ยังไม่ทำ เขายังคิดถึงกลุ่มทุนตัวเองซะมาก แล้วรอให้อนาคตใครสักคนมาแก้ แต่คนปลูกมันมีน้อยกว่าคนตัด มันก็เลยพังหมด

    เมื่อต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นแรกที่ตัดในกรุงเทพฯ คิดว่าอะไรทำให้คนลุกฮือขึ้นมาในครั้งนี้

    เพราะเราตัดกันมาเยอะ จนจะสุดทางแล้ว มันเป็นจุดที่เรียกว่า Tipping Point ถ้าเลยไปกว่านี้ก็พังแล้ว มันเป็น Tipping point ของโลกเลยนะ ซึ่งหมายความว่าของเมืองไทย และของกรุงเทพฯ ด้วยเช่นกัน  ตอนนี้คนเข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก แต่จะมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย แต่คำว่ามากขึ้นนี้ก็ต้องพูดตรงๆ ว่ายังได้อยู่ในวงกว้างในเมืองไทย และในกรุงเทพฯ

    ผมเคยไปเจอเด็กคนหนึ่งฟันต้นไม้เล่นอยู่ในวัด ฟันสนุกเลยนะ เขาก็คงไม่ได้หวังจะให้ต้นไม้ตายอะไรหรอก คงเพราะต้นไม้บ้านเรามันมีเยอะด้วยไง เขาก็เลยไม่ได้ใส่ใจมาก  หากถ้าเอาเรื่องแบบนี้มาเทียบกับการกระทำของนายทุน มันก็น้อยกว่าแบบเทียบไม่ได้หรอก เราถึงต้องมารณรงค์ในภาคประชาชนไง อย่างน้อยถ้าภาคประชาชนเข้าใจ คนฟันเล่นแบบนั้นก็ไม่มี และจะเป็นหูเป็นตาให้กับสังคมด้วย

    ที่ผ่านมามีคนไม่เห็นด้วยบ้างไหม

    มีครับ เป็นเรื่องการรักษาสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการเจริญเติบโต แต่เขาก็เข้าใจมากขึ้นนะ

    เท่าที่คุยมา คุณตั้งใจจะบอกว่าการพัฒนามันสามารถควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมได้ แต่ก็ต้องคิดเยอะหน่อย

    ใช่ แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเราอยู่ในระบบการศึกษาที่สอนให้ท่องมานาน เราถึงคิดต่อไม่ได้ เขาสอนว่าการพัฒนาต้องแลกมาด้วยธรรมชาติ เราก็ท่อง  ในเฟซบุ๊กก็มีคนเถียงมา เขาบอกว่าเข้าใจประเด็นที่คนจะเก็บต้นไม้ แต่คนยังต้องกินอยู่ เราก็พยายามพูดคุยด้วยข้อมูลจริงๆ ตอบกลับไปด้วยตัวอย่างของเมืองที่สิ่งแวดล้อมดีๆ ว่าสุดท้ายพวกเขารวยกว่าด้วยซ้ำ

    ที่บอกว่าระบบการศึกษาเราถูกปลูกฝังมาให้เชื่อและทำตาม สำหรับคุณอะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้หันมามองเรื่องนี้

    คงหลายอย่างนะ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดก็คือ ผมเป็นคนเที่ยวเยอะ ช่วงหนึ่งไปดีทรอยบ่อย ก็เห็นปัญหา แล้วช่วงหนึ่งประเทศเราเคยโปรโมตว่าจะเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย เราก็รู้สึกว่าตอนนั้นเราจะรวยแล้ว แต่พอได้ไปที่นั่นจริงๆ ก็ตกใจ เพราะมันเป็นเมืองที่ตายแล้ว มันก็ทำให้เราได้นำเอาความรู้ที่เคยเรียนมาซึ่งบอกว่า การพัฒนาจะต้องเกิดภาคอุตสาหกรรม เกิดภาคการผลิต เราก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่ ก็เลยดึงเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์สมัยเรียนอยู่ธรรมศาสตร์มาคิด ก็พบว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ถูก แต่เรื่องอุตสาหกรรมต้องจัดสมดุลเรื่องธรรมชาติให้ได้ด้วย เพราะสุดท้ายเราลืมความเป็นมนุษย์ไป เรื่องสังคมศาสตร์เราลืมไปหมดเลย มันต้องกลับมาเรื่องนี้ให้ได้

    เสียงตอบรับในวงกว้างวันนี้เป็นยังไงบ้าง

    ถ้าใช้คำว่าวงใน วงกลาง วงกว้าง  วงกลางก็มีแล้ว เช่นสื่ออย่างเนชั่น ไทยพีบีเอส วิธีดูก็คือ ถ้ามีการออกรายการไป สมาชิกเราก็จะเพิ่มขึ้นเอง  ส่วนวงกว้างที่หมายถึงชุนชนจริงๆ ผมว่าเรายังไปไม่ถึง กำลังของเราเองที่จะไปถึงชุมชนยังไม่ถึง เช่น เราขี่จักรยานไปถึงชุมชนท่าพระจันทร์ ผมว่าคนละแวกนั้นก็คงไม่ได้รู้ว่าสิ่งที่เราทำมีแผนการเป็นอย่างไร ก็จะมีบ้างที่ชอบต้นไม้ พอเราลงไปถึงแล้วรู้จักบิ๊กทรีเลย แต่ก็มีสัก 2 คนต่อหนึ่งชุมชนเท่านั้น

    นอกจากเรื่องนโยบายแล้ว เรากำลังพยายามจะทำอยู่อีกเรื่องก็คือ เรื่องระดมทุน  เราเองตัดสินใจแล้วว่าจะมีองค์กรที่มีคนมาขับเคลื่อนชัดเจน องค์กรนี้ก็จะทำกิจกรรม ทำหน้าที่ผลักนโยบาย ทำหน้าที่ลงชุมชน  ผมเองมองว่าถ้าในภาคประชาชนแล้ว การลงชุมชนสำคัญที่สุด และคนทำงานแค่ 4-5 คนแบบนี้ไม่น่ารอด เราถึงพยายามที่จะหาทางที่ทำยังไงให้เกิดเป็นองค์กร

    ในวันที่กฎหมายยังไม่เกิดขึ้นจริง หากมีคนเจอสถานการณ์คล้ายๆ กัน อยากแนะนำเขายังไง

    มาทำด้วยกัน เรายินดีให้ความร่วมมือมาก ก็จะมีทั้งเบอร์โทรศัพท์หมายเลข 1555 ให้ต่อตรงไปที่ กทม.หรือจะติดต่อมาทางเราโดยตรง แต่เนื่องจากเวลาเราไม่ได้เยอะ ถ้าอะไรที่ค่อนข้างเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เป็นกรณีที่รุนแรง เช่นต้นไม้ 200 ปีจะถูกตัด เราจะขับรถไปดูให้เลย แต่ไม่ได้บอกว่าจะรณรงค์ให้นะ เราจะไปดูก่อนว่าจะตัดเพราะอะไร มีหน่วยงานไหนมาช่วยไหม หรือง่ายๆ เลยก็จะดูว่า 200 ปีจริงไหม แล้วก็ดูว่าอันไหนเราพอจะหยิบมารณรงค์ได้บ้าง แต่ก็คงทำเท่าที่เรามีแรง

    Big Trees Group :

    BANGKOK: Increasingly dense construction has crowded out nature in downtown areas, producing more traffic jams because more people with cars live in high-rise buildings. It also creates flooding problems because the plinths of many new buildings are higher than the narrow lanes.
    And it destroys the last refuges of urban wildlife, a variety of birds and squirrels that live in the mini-ecosystems of big trees - like the banyan and rain trees.

    The germ of a movement to save these trees, however, has now taken root. The Big Tree group was born inside a small design studio on a lane off busy Sukhumvit, when the young Thai designers there noticed several big, old trees at the top of their lane being marked to be chopped down to make way for a car park of a massive new mall. There were dozens of trees big and small in the sprawling plot; the designers reckoned some were well over 60 years old. Together with other concerned residents in the area, they approached the plot owner's son to persuade him to change the mall's layout and save the trees. He listened sympathetically, nodded a lot - but one day chopped all the trees down anyway.

    That event just four months ago kick-started the group that today - based entirely on Internet social networking - has 16,000 members, with an active core of 30.

    'To me, it is a question of protecting the value of a city. Big Tree is a stepping stone to more social or more civic responsibility,' co-founder Pongprom 'Joe' Yamarat, 38, an economist by training, said in an interview.

    The group comprises fairly young professionals and not necessarily only misty eyed tree-huggers. Many are designers, architects and lawyers. Almost all are Thais. On weekends, they get together and go on a cycle tour of areas in the city, visiting landmark old trees in parks, Buddhist temples, universities and sprawling diplomatic compounds as well as to answer calls by residents alerting them to attempts to cut down trees.

    Outside these environs, old trees are endangered - mainly by the redevelopment of roads and booming real estate development.

    The Bangkok Metropolitan Authority (BMA) is generally pro-environment, but under current laws only trees deemed to have economic value - such as teak - are protected from chainsaws. The rest are fair game.

    The Big Tree group plans to change that.

    It began by simply inviting ideas - and they flew thick and fast. At least one proved a novel move: a contest to find the 'best tree' in Bangkok.

    'This is the first time we are doing this (contest),' said Mr Pongprom. 'We want to build awareness first; then we want to push the authorities into planting more trees in the city.'

    The contest has drawn an enthusiastic response, with more than 200 trees nominated for the award. Members can see the nominated trees online and click on them to vote.

    There is no paperwork involved, and it hardly costs any money. Big Tree co-founder Oraya Satabutr, 43, a former English teacher at the eliteThammasat University, said: 'It is encouraging that young people are getting involved because they bring creativity to this.
    'The older generation just thinks in terms of seminars and protests and lawsuits.'
    One of the nominated trees is an ancient 'lamphu' - a mangrove species - a symbol of what Bangkok once was.
    The more than a century-old tree stands in several feet of water at the edge of the Chao Phraya river at the park called Santichai Prakarn. Once there were many like it; the district of Banglamphu - the historic heart of Bangkok - was named after these trees.

    The group members gathered at the spot on a recent Saturday to start their bicycle tour. A woman in her 30s - a teaching assistant - who was not even a member but had read about the event in the newspaper, turned up with her bicycle.

    So did Dr Oy Kanjanavanit, an early member of the group. She also runs theGreen World Foundation, which tries to make the general public conscious of their immediate environment and monitor it.

    'It's about ecological literacy,' she explained.
    Eventually, about 40 members turned up. Many brought their own bicycles; others used the BMA's bicycles at a stand at the park where one can 'rent' a bicycle by depositing one's passport.
    Deputy Governor of Bangkok Porntep Techapai-bul, who is pro-cycling, joined them as they wound their way through the roads of the old city, visiting giant peepul and tamarind trees.

    At one park, eight members linked hands to show how broad across the base a giant, old peepul tree was. In this park, two generations ago, royalty once threw extravagant parties, with guests relaxing under the shade of this same tree.

    (Adapted from article by Nirmal Ghosh, Singapore Straits Times)

 ติดต่อรักษ์ไม้ใหญ่ วิสาหกิจเพื่อสังคม

BIGTree Network : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. / ติดต่อทีมงานทางกล่องข้อความ http://www.facebook.com/BIGTreesProject/inbox

ติดต่อรุกขกร วิสาหกิจเพื่อสังคม
Tree Care Service : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. / โทร 02-004-1642 หรือ 083-024-4053